top of page

ทำความเข้าใจขั้นตอนการสัก ตั้งแต่ต้นจนจบ

อัปเดตเมื่อ 8 ส.ค. 2566


ทำความเข้าใจขั้นตอนการสัก ตั้งแต่ต้นจนจบ

คุณอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสักหลาย ๆ อย่างว่า ช่างสักจะมีขั้นตอนการสัก การเตรียมตัวอย่างไรก่อนที่จะสักให้คุณ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนเปรียบกับงานศิลปะ ไม่ใช่แค่หยิบเครื่องสักขึ้นมาและสักลงไปผิวหนังของคุณได้เลย ช่างสักจะต้องตัดสินใจว่าจะใช้เครื่องสักประเภทไหน เข็มแบบไหนเหมาะสำหรับงานที่คุณเลือกมากที่สุด รวมถึงสีน้ำหมึกที่ต้องใช้ มาดูกันว่า งานสักใหม่จะต้องใช้อะไรบ้าง


เครื่องสัก


เครื่องที่ใช้ในร้านสักเราเรียกว่า “เครื่องสัก” หรือบางคนก็รู้จักในชื่อ “ปืนสัก” แต่อาจไม่ได้เป็นที่รู้จักแล้วมากนัก เครื่องสักมีประมาณ 2-3 รูปแบบที่มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่มีกลไกทำงานที่ทำงานอย่างพร้อมเพรียงกันเพื่อเจาะหมึกสักลงไปในผิวหนัง โดยมีเครื่องสัก 3 แบบดังต่อไปนี้


เครื่องสักโรตารี


เครื่องสักโรตารีถูกผลิตขึ้นในปี 1891 เครื่องสักชนิดนี้ทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าและหัวเข็มที่หมุนได้ เข็มจะติดอยู่กับหัวที่มีปลายมน หัวเข็มจะหมุนโดยใช้ไฟฟ้า โดยหมุนเป็นวงกลมไปเรื่อย ๆ เหมือนชื่อของมัน การเคลื่อนที่เป็นวงกลมของเข็มจะทำให้เข็มเคลื่อนที่ขึ้นและลงในแนวดิ่ง


การเคลื่อนที่ของเครื่องสักโรตารีมีความนุ่มนวลกว่าเครื่องสักคอยล์ นอกจากนี้ยังเงียบกว่าและไม่ก่อให้เกิดเสียงหึ่ง ๆ ระหว่างที่ใช้ เครื่องสักโรตารีมักถูกใช้สำหรับการลงแสงและเงา และใช้ง่ายกว่าเครื่องสักคอยล์



ทำความเข้าใจขั้นตอนการสัก ตั้งแต่ต้นจนจบ -2


เครื่องสักคอยล์


เครื่องสักคอยล์เกิดขึ้นในปี 1904 โดยใช้พลังงานไฟฟ้าและแม่เหล็ก เครื่องสักคอยล์มีคอยล์ไฟฟ้า 2 ชุดที่ดูเหมือนแบตเตอรี่ที่อวบอ้วนและสั้น นอกจากนี้เครื่องสักตัวนี้มาพร้อมกับเท้าเหยียบ เมื่อเหยียบตรงเท้าเหยียบแล้ว ไฟฟ้าจนถูกส่งขึ้นไปที่คอยล์ จากนั้นคอยล์จะดูดและดึงแถบแม่เหล็กด้านบนที่เรียกว่า แถบอาร์เมเจอร์ ลงมา


เมื่อแถบถูกดึงลงมาแล้ว มันจะไม่สัมผัสกับหน้าสัมผัสสกรู หน้าสัมผัสสกรูเป็นส่วนที่ทำให้วงจรไฟฟ้าทำงานอย่างสมบูรณ์ แต่เมื่อแถบอาร์เมเจอร์เลื่อนลงมา มันจะทำให้วงจรไฟฟ้าขาด คอลย์จะสูญเสียแรงดึงดูดแม่เหล็ก และแถบจะเด้งกลับขึ้นมาชนกับสกรูอีกครั้ง ระบบจะทำงานแบบนี้ซ้ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ

เข็มสักติดอยู่กับแถบอาร์เมเจอร์ จึงสามารถทำให้เข็มทั้งขยับขึ้นลงได้เหมือนกับค้อนและมีแนวโน้มที่จะมีฝีเข้มที่ลงน้ำหนักแรงกว่าเครื่องสักโรตารี ดังนั้นเครื่องสักคอยล์จะเหมาะกับงานที่เน้นลายเส้นมากกว่าและจะได้ยินเสียงหึ่ง ๆที่เป็นเอกลักษณ์ของเครื่องนี้


เครื่องสักนิวเมติค


เครื่องสักนิวเมติคมีขึ้นในปี 2000 ที่ทำงานโดยใช้อากาศที่อัดเข้าไป การปรับแรงดันลมจะทำให้สามารถควบคุมความเร็วที่เข็มจะเคลื่อนที่ขึ้นและลงได้ เครื่องสักนิวเมติคอาจมีเสียงเล็กน้อยและมีน้ำหนักเบาที่สุดในบรรดาเครื่องสักทั้งสามแบบ คุณอาจจะไม่เห็นช่างสักใช้เครื่องสักประเภทนี้มากเท่าไหร่ เนื่องจากมันมีราคาแพงมากกว่าเครื่องอื่น ๆ และอาจจะไม่ได้ชอบเครื่องสักชนิดนี้เท่าไหร่ เราไม่ได้หมายความว่าเครื่องสักนี้ไม่มีประโยชน์หรือไม่มีข้อดี เพียงแต่ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร


ช่างสักของคุณจะใช้เครื่องสักแบบไหน

ช่างสักของคุณอาจจะเลือกใช้เครื่องสักที่พวกเขาถนัดมากที่สุด ช่างสักที่มีประสบการณ์มากจะรู้วิธีใช้เครื่องสักคอยล์และเครื่องสักโรตารี และอาจสลับเปลี่ยนกันไปมาระหว่างนั้น โดยขึ้นอยู่กับแบบที่คุณต้องการ


ความยาวของการลงเข็ม


ความยาวของการลงเข็ม หรือ “Stroke” คือระยะที่เข็มจะขยับขึ้นและลง ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องสักจะถูกออกแบบมาให้ทำงานแบบไหน แต่ทำไมความยาวของการลงเข็มจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าหากระยะลงเข็มยาว เครื่องสักก็จะเคลื่อนที่ช้าลง แต่ถ้าระยะลงเข็มสั้น เครื่องสักก็จะเคลื่อนที่เร็วนั่นเอง


การลงเข็มระยะสั้น หมายถึง ระยะเคลื่อนที่ของเข็มน้อยลงและเครื่องจักรเคลื่อนที่เร็วขึ้น โดยทั่วไปมีขนาดอยู่ที่ 1.8-2.5 มม. การลงเข็มระยะสั้นเหมาะสำหรับการไล่แสงและเงา เพราะเครื่องสักจะเคลื่อนที่เร็วและเข็มไม่ต้องเจาะลงไปในผิวหนังของเราลึกมากนัก ดังนั้นช่างสักจะสามารถไล่แสงเงาและชั้นของน้ำหมึกได้ การลงเข็มที่เร็วขึ้นคือการที่เข็มสักเจาะลงไปในผิวหนังของคุณในอัตราที่สูงกว่า


การลงเข็มระยะยาวมีขนาดประมาณ 4.0 หรือมากกว่า เหมาะสำหรับลายสักงานเส้นที่ต้องการความแม่นยำ เพราะมันจะส่งน้ำหมึกลงไปที่เข็มมากกว่าและเข้มกว่า ดังนั้นคุณสามารถใช้หัวเข็มที่มีขนาดใหญ่กว่าด้วยเครื่องที่เน้นการลงเข็มระยะยาว การลงเข็มระยะยาวคือการที่เข็มเจาะลงไปในผิวหนังของคุณช้าลง

อย่างไรก็ตาม การลงเข็มทั้งสองแบบเหมาะสำหรับการอัดสี เมื่อต้องใช้สีในการสักหลายสี


เข็มสัก


มีเข็มสักมากมายหลากหลายประเภทให้เลือกเหมือนกับเวลาที่คุณไปร้านอุปกรณ์เครื่องเขียน ถ้าพูดถึงโดยพื้นฐานแล้ว การสักไม่ได้ใช้แค่เข็มเพียงเล่มเดียว แต่มันคือกลุ่มเข็มที่ถูกจัดเป็นรูปแบบเฉพาะ ถ้าหากรูปร่างของกลุ่มเข็มนี้เปลี่ยนไป จำนวนเข็มก็จะเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน

เข็มบางชนิดดีต่อการสักงานเส้นบางมากกว่า เข็มบางอย่างก็มีข้อดีในเรื่องของการอัดสีและการไล่แสงเงา แต่เข็มสักที่ใช้ควรผ่านการฆ่าเชื้อและถูกใช้เพียงครั้งเดียว


การเลือกเข็มสัก


เข็มสำหรับงานเส้นก็เหมือนกับเข็มเย็บด้าย อย่างเข็ม 3 เล่มถูกนำมาชิดกันให้มีหัวเป็นวงกลมจะช่วยให้ได้เส้นที่เฉียบและสะอาด ซึ่งเหมาะสำหรับงานเส้นบางและงานตัวอักษร ยิ่งมีจำนวนเข็มมากขึ้นเท่าไหร่ น้ำหมึกที่จะฝังลงไปในผิวก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น


เข็มสักแสงเงา


เข็มสักแสงเงามีหน้าตาเหมือนกับแปรงระบายสี เข็มแต่ละเล่มจะประกอบรวมตัวเป็นแถวเรียงกันเหมือนเส้นขนพู่กัน ซึ่งเหมาะสำหรับบริเวณที่ต้องการไล่แสงเงา เพราะใช้เข็มน้อยและน้ำหมึกปานกลาง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณเข็มที่ต้องใช้ด้วยเช่นกัน


ขนาดของเข็ม


ขนาดของเข็มที่ใช้จัดเรียงเป็นรูปร่างเรียกว่า เกจ หรือ “Gauge” 8-gauge มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.25 มม. ในขณะที่ 12-gauge มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.35 มม. โดยการสักจะยึดการใช้ตัวเลขเพื่อจัดเรียงจำนวนเข็มเป็นหลัก


ยกตัวอย่างเช่น ช่างสักอาจเลือกใช้ 8-gauge 03 Round Liner เพื่อสักงานเส้นบาง โดยใช้เข็มที่มีขนาด 0.25 มม. เรียงกันเพื่อให้ได้หัวกลมที่ต้องการ ส่วนในบริเวณที่ต้องการถมสีเป็นจำนวนมาก ช่างอาจจะเลือกใช้ 12-gauge 27 Magnum Shader ที่มีลักษณะเหมือนแปรงระบายสีด้วยการเรียงกันของเข็มที่มีขนาด 0.35 มม. ทั้งหมด 27 เล่ม


เมื่อต้องเตรียมตัวสำหรับการสัก ช่างสักจะรู้อยู่แล้วว่า เขาจะต้องใช้เข็มอะไรในส่วนไหน ดังนั้นเขาจะเตรียมเข็มที่จะต้องใช้ทั้งหมดไว้ล่วงหน้า เหมือนกับศิลปินวาดรูปที่ต้องเตรียมพู่กันให้พร้อมสำหรับการวาดรูป



ทำความเข้าใจขั้นตอนการสัก ตั้งแต่ต้นจนจบ -3

หมึกสัก


หมึกสักต้องใช้องค์ประกอบสองอย่างด้วยกัน อย่างแรกคือเม็ดสีและอย่างที่สองคือพาหะนำสีเพื่อให้สีกระจายสม่ำเสมอ เม็ดสีคือสีที่คุณใช้ และตัวนำสีคือสิ่งที่จะช่วยให้หมึกของคุณผสมออกมาอย่างถูกต้องและปราศจากแบคทีเรีย


น้ำหมึกสักเป็นเรื่องก่อให้เกิดความวุ่นวายอยู่เล็กน้อย เนื่องจากแต่ละบริษัทผลิตเม็ดสีด้วยส่วนผสมหรือวัตถุดิบที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น เกลือโลหะ สารเคมีอินทรีย์ คาร์บอน แคลเซียม เขม่าและอื่น ๆ โดยมีพาหะนำสี ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับพาหะที่อยู่ในสบู่และผลิตภัณฑ์ดูแลผิวของคุณ


สิ่งสำคัญที่คุณจะต้องรู้คืออาการแพ้ส่วนผสมในน้ำหมึกที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นคุณควรศึกษาเรื่องของน้ำหมึกให้ดี มิฉะนั้นส่วนผสมดังกล่าวถูกฝังลงไปในผิวหนังและก่อให้คุณเกิดอาการแพ้ใต้ผิวอย่างถาวร เราแนะนำให้คุณปรึกษาแพทย์ผิวหนังและช่างสักก่อนทำการสัก หากคุณรู้ว่าคุณมีอาการแพ้หรือความกังวลต่าง ๆ นอกจากนี้หมึกอื่น ๆ ที่ใช้สำหรับการสักคือหมึกพิมพ์ที่ใช้ในการลอกลาย


หมึกพิมพ์ทพจากหมึกสีม่วงพิเศษโดยเครื่องพิมพ์เฉพาะ ดังนั้นสอบถามช่างสักของคุณว่าเขาใช้หมึกอะไร หากคุณกังวลว่าคุณจะมีปฏิกิริยาแพ้ต่อหมึกนั้น ๆ


กระบวนการฟื้นฟูรอยสัก


ในช่วง 1-2 วันแรกที่แผลกำลังฟื้นฟูอาจเป็นวันที่รอยสักของคุณมีความบอบบางมากที่สุดและต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งอาจเกิดการก่อตัวของลิ่มเลือดและสะเก็ดแผลในช่วง 2-3 วันแรก หลังจากวันที่ 3 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 2 แผลรอยสักของคุณก็ใกล้จะสมานเรียบร้อยแล้ว สะเก็ดแผลจะแข็งขึ้นและผิวหนังจะเริ่มลอกเป็นขุย อาจเป็นช่วงที่คุณรู้สึกคันแผลมากที่สุดในระหว่าง 1 หรือ 2 สัปดาห์แรก


จากนั้น 3-4 สัปดาห์ สะเก็ดแผลจะเริ่มหลุดออกจากผิวหนังและรอยสักก็จะกลายเป็นแผลปิด นั่นหมายถึงรอยสักของคุณกำลังฟื้นฟูอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง เพียงแต่ได้เสร็จสิ้นกระบวนการซ่อมแซมผิวหนังชั้นบนสุดแล้วและปิดแผลเพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรีย


โดยรวมแล้วรอยสักจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนในการดูแลรักษาและสวยงามตามที่คุณจินตนาการไว้ มันอาจดูดีขึ้นก่อนประมาณ 3-4 เดือน แต่ผิวหนังข้างใต้ชั้นผิวหนังบนสุดยังคงทำการรักษาต่อไปรอบ ๆ น้ำหมึก ดังนั้นคุณต้องใช้โลชั่นและมอยส์เจอร์ไรเซอร์เพื่อบำรุงผิวในส่วนนั้น


คำแนะนำนี้เป็นเพียงพื้นฐานส่วนหนึ่งของการสักที่คุณควรรู้ การสักด้วยเครื่องจะต้องเรียนรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน มือเครื่องสักที่มีความแตกต่างกันให้เลือกใช้ รวมถึงไปเข็มต่าง ๆ และน้ำหมึก


ช่างสักจะเลือกใช้อุปกรณ์ตามความถนัดและสิ่งที่พวกเขาร่ำเรียนมา ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตำแหน่งที่จะสัก การเติมรอยสักเดิม การสักเต็มตัวไปจนถึงการสักครั้งของคุณ


ไม่ว่าคุณจะสักมาอย่างไร สิ่งสำคัญคือการดูแลรอยสักใหม่ด้วยผลิตภัณฑ์ดูแลรอยสักในช่วงที่แผลกำลังฟื้นตัวและต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของช่างสักอย่างเคร่งครัด

ดู 25 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page